ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย  มาตราฐานเครือข่าย WAN

1. X.25 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของเครือข่ายแบบเก่า

ซึ่งได้รับการออกแบบโดย CCITT ประมาณปี ค.ศ. 1970เพื่อใช้เป็นส่วนติดต่อระหว่างระบบเครือข่ายสาธารณะแบบแพ็กเก็ตสวิตช์ (PacketSwitching) กับผู้ใช้ระบบ X.25 เป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (Connection-oriented) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อวงจรสื่อสารแบบ Switched Virtual Circuit(SVC) และ Permanent Virtual (PVC)

2. Frame Relay เฟรมรีเลย์เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อจาก X.25

อีกทีหนึ่งในการส่งข้อมูลเฟรมรีเลย์จะมีการตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูลที่จุดปลายทาง ทำงานแบบPacket Switching

3. ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูง

ปัจจุบันระบบองค์กรใหญ่ๆ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในวงอุตสาหกรรมการสื่อสารโดยระบบ ATM จะมีการส่งข้อมูลจำนวนน้อยๆ ที่มีขนาดคงที่เรียกว่า เซลล์ (Cell)มาตรฐาน OSIองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization forStandardization)
ได้ทำการศึกษาและหาแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในระบบเครือข่าย โดยตั้งชื่อมาตรฐานด้านเครือข่ายว่า OSI (Open SystemInterconnection)

เพื่อให้เครือข่ายที่ถูกสร้างจากบริษัทที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างไม่มีปัญหาโดยการแบ่งตามโครงสร้างลักษณะการส่งผ่านข้อมูลออกเป็นชั้นๆ ทั้งหมดได้ 7เลเยอร์ (Layer) ดังนี้ระดับชั้นต่างๆ ของ OSI 7 เลเยอร์

1. ระดับกายภาพ (Physical Layer)

เป็นระดับต่ำสุดจะมองในแง่ของสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งข้อมูลระหว่างกันรวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อจริงๆ อุปกรณ์ระดับนี้ เช่น สายUTP, ฮับ (Hub), รีพีตเตอร์ (Repeater)

2. ระดับเชื่อมข้อมูล (Data Link Layer)

เป็นระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame)เพื่อเชื่อมต่อกับระดับที่ 3 ระดับเชื่อมข้อมูลยังแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อยคือ Logical LinkControl (LLC) และ Media Access Control (MAC) อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่นบริดจ์ (Bridge), สวิตช์ (Switch)

3. ระดับเครือข่าย (Network Layer) เป็นระดับที่มองข้อมูลที่แพ็กเกจ(Package)

โดยที่แพ็กเกจอาจจะใหญ่หรือเล็กจะเป็นข้อมูลที่ถูกซอยย่อยส่งไปในเครือข่ายซึ่งข้อมูลบางส่วนในแพ็กเกจใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทางที่แพ็กเกจนั้นเดินทางไปอุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น เร้าเตอร์ (Router), Switch Layer3

4. ระดับขนถ่าย (Transport Layer)

เป็นระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

5. ระดับเปิด-ปิด (Session Layer)

เป็นระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร

6. ระดับปรับข้อมูล (Presentation Layer)

เป็นระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆในเครือข่าย

7. ระดับประยุกต์ (Application Layer)

เป็นระดับที่จัดการเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน เช่น การเข้าถึงฐานข้อมูล หรือการรับ-ส่งอีเมล์

อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างไรบ้าง การใช้ชีวิตในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของการศึกษา ทางด้านของธุรกิจต่างๆ หรือแม้แต่ทางด้านของสื่อบันเทิงก็ตาม

 

ขยายความทางด้านการศึกษา

อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างไรบ้าง เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนทางด้านของการศึกษา เพราะส่วนใหญ่เราจะใช้อินเตอร์เน็ตในการส่งการบ้าน ติดต่อสื่อสารในการอธิบายถึงรายละเอียด ช่วยในการนัดหมาย รวมทั้งยังใช้เป็นการติดติอสื่อสารระหว่างอาจารย์และนักเรียนหรือนักศึกษาได้อีกด้วย หรืออาจจะเป็นระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง ซึ่งในการเรียนการสอนในยุคสมัยนี้จะเป็นการเรียนผ่านระบบออนไลน์สะส่วนใหญ่ เพราะในยุคปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นการเรียนในระบบออนไลน์กันแล้ว เนื่องจากเป็นการเรียนที่ใช้ในเวลาที่เราสะดวก และยังสามารถลดค่าเรียนเซพได้เยอะเลยทีเดียว และอินเตอร์เน็ตนี้ยังเปรียบเสมือนห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่มากอีกด้วย แถมยังมีข้อมูล ภาพ และอื่นๆให้น่าสนใจกว่าห้องสมุดแบบเดิมๆที่เคยเจอในอดีต

 

ขยายความทางด้านของธุรกิจ

เราสามรถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจได้ด้วยมีการซื้อขาย ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีการบริการด้วยการส่งที่รวดเร็ว เราบริการนี้เป็นการถูกยอมรับเนื่องจากได้มีการซื้อขายและบริการส่งที่สะดวกและรวดร็วเป็นพิเศษ ซึ่งการส่งแบบนี้เป็นการตอบโจทย์ของคนสมัยนี้เป็นอย่างมาก เพราะไม่ยุ่งยาก สะดวก รวดเร็ว แถมสามารถสั่งซื้อตอนไหนก็ได้ เพราะไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ก็ตามท่านก็จะสามารถสั่งซื้อสินค้าที่ท่านต้องการได้อย่างสะดวกสะบาย หรือแม้กระทั่งหากท่านมีความสนใจแต่อยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าชิ้นนั้นก็สามารถสอบถามได้ในทันทีโดยไม่ต้องเดินทาง

 

ขยายความทางด้านบันเทิง

อินเตอร์เน็ตที่เราใช้ในปัจจุบันสามารถสร้างความบันเทิงให้กับเราได้อย่างเช่นดูโทรทัศน์ การดูภาพยนตร์ และรวมไปถึงการอ่านเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น อินเตอร์เน็ตในด้านของการบันเทิงนี้เราพูดได้เลยว่าเป็นการทำเพื่อให้เราได้คลายเครียด พักผ่อนหย่อนใจ หรือได้รับชมเพื่อความสนุกสนานตามความต้องการส่วนตัวของแต่ละบุคคล เราสามารถดูได้ทุกเรื่องราวที่เราอยากดู ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสาร วรสารต่างๆ นิยาย ตลก เป็นต้น เราสามารถค้นคว้าได้ทุกเรื่องหรือแม้แต่ดูทุกอย่างที่เราต้องการผ่านอินเตอร์เน็ตนี้ จะเพื่อความบันเทิงหรืออะไรทั้งหมดที่กล่าวมาก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้ล้วนใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น