เล่นคอมพิวเตอร์มากๆเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

เล่นคอมมากเสี่ยงเป็นโรคอะไร

เล่นคอมมากเสี่ยงเป็นโรคอะไร การเล่นคอมพิวเตอร์มากๆหรือนานๆ สามารถเป็นโรคต่างๆได้เหมือนกัน

เล่นคอมมากเสี่ยงเป็นโรคอะไร หลักการเบื้องต้นคุณทราบหรือเปล่าว่าหากเราเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆหรือหลายชั่วโมงเราจะมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง บทความนี้เป็นบทความที่จะเขียนเหตุการณ์การใช้คอมพิวเตอร์มากจนส่งผลให้เรามีอาการอื่นๆขึ้นมาได้ หรืออาการต่างๆที่เราเป็นนั้นมาจากสาเหตุการเล่นคอมพิวเตอร์หรือไม่ งั้นเรามาดูกันเลย

 

การกดทับเส้นบริเวณข้อมือ (Carpel Tunnel Syndrome)

สำหรับใครที่มีอาการปวดร้าวบริเวณดังต่อไปนี้ ข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ หรืออาจจะรู้สึกถึงอาการชาที่มือ ไม่สามารถกำมือให้แน่ได้ หรือสังเกตุได้ว่าเวลาเราหยิบหรือจับอะไรก็จะไม่อยู่สิ่งของเหล่านั้นอาจจะมีการล่วงหล่นได้ค่อนข้างบ่อย ปัญหานี้เกิดขึ้นด้วยการที่เรานั้นมีการจัดเม้าส์ที่ไม่ถูกวิธีหรือมีการเกร็งในเวลาจับเม้าส์มากเกินไป สำหรับการเกร็งข้อมมือนานๆไม่ว่าจะเป็นการจับเม้าส์หรือการกดแป้นคีย์บอร์ดเป็นเวลานานๆจะทำให้ข้อมือของเราเกิดการอักเสบขึ้นได้ 

 

หลักการปฎิบัติเพื่อไม่ให้เกิดการเกร็งข้อมือหรือข้อมืออักเสบนี้ 

สามารถทำได้ด้วยวีธีการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เม้าส์และคีย์บอร์ด ให้อยู่ในท่าสบายไม่เกร็งจนเกินไป หรือขยับท่านั่งและปรับเปลี่ยนท่าจับบ่อยๆให้มือและข้อมือได้มีการเปลี่ยนท่า เพื่อจะได้ไม่เกิดการเกร็งของข้อมือขึ้นได้ หรือท่านอาจจะวางมือให้ขนานไปกับพื้นโต๊ะทำงานของคุณ และไม่ควรงอมือหรือเกร็งข้อมือเวลาใช้เม้าส์หรือแป้นคีย์บอร์ด และสิ่งนี้สำคัญสุดคือไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากนัก ควรมีการลุกขึ้นหรือขยับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักมือหรือการเดินเอยืดเส้นยืดสายให้กับตนเอง เพื่อเป็นการผ่อนคลาย ตนเองอีกด้วย

 

ถ้าอาการข้างตนยังไม่ทุเลาหรือไม่หาย ควรปฎิบัติดังนี้

หากคุณเองมีอาการเกร็งที่ข้อมือหรือมือชาและทำการทำการข้างต้นที่แนะนำไปแล้วยังไม่หายหรือไม่มีอาการทุเลาลงสักนิด ท่านควรไปพบเพทย์เฉพาะท่งเป็นการดีที่สุด เพื่อแก้ไขรักษาให้ทันท่วงที หากปล่อยไว้อาจะเป็นโรคอื่นๆได้ หรือไม่ก็อาจจะเป็นโรคอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกับการทำงานคอมพิวเตอร์โดยที่เรไม่รู้ตัว แต่เราคิดว่าเป็นเพราะสาเหตุมาจากการที่เราจับเม้าส์และคีย์บอร์ดมากไปเท่านั้น แต่รักษฃาอาการเบื้องต้นยังไม่หาย ดังนั้นหากรักษาอาการเบื้องต้นไม่หายควรไปพบเฃแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ จะได้รู้จุดที่ชัดเจน เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที

การเล่นคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการทำงานต่างๆหรือการทำการบ้าน การเล่นเกม หรือแม้แต่การสร้างรายได้ เราควรมีขอบเขตในการเล่น ไม่ควรนั่งแช่กับคอมพิวเตอร์นานจนเกินไป ควรลุกหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นประกอบ เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายๆ 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย 

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพรวมระบบเครือข่าย  มาตราฐานเครือข่าย WAN

1. X.25 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของเครือข่ายแบบเก่า

ซึ่งได้รับการออกแบบโดย CCITT ประมาณปี ค.ศ. 1970เพื่อใช้เป็นส่วนติดต่อระหว่างระบบเครือข่ายสาธารณะแบบแพ็กเก็ตสวิตช์ (PacketSwitching) กับผู้ใช้ระบบ X.25 เป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (Connection-oriented) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อวงจรสื่อสารแบบ Switched Virtual Circuit(SVC) และ Permanent Virtual (PVC)

2. Frame Relay เฟรมรีเลย์เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อจาก X.25

อีกทีหนึ่งในการส่งข้อมูลเฟรมรีเลย์จะมีการตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูลที่จุดปลายทาง ทำงานแบบPacket Switching

3. ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูง

ปัจจุบันระบบองค์กรใหญ่ๆ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในวงอุตสาหกรรมการสื่อสารโดยระบบ ATM จะมีการส่งข้อมูลจำนวนน้อยๆ ที่มีขนาดคงที่เรียกว่า เซลล์ (Cell)มาตรฐาน OSIองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization forStandardization)
ได้ทำการศึกษาและหาแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในระบบเครือข่าย โดยตั้งชื่อมาตรฐานด้านเครือข่ายว่า OSI (Open SystemInterconnection)

เพื่อให้เครือข่ายที่ถูกสร้างจากบริษัทที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างไม่มีปัญหาโดยการแบ่งตามโครงสร้างลักษณะการส่งผ่านข้อมูลออกเป็นชั้นๆ ทั้งหมดได้ 7เลเยอร์ (Layer) ดังนี้ระดับชั้นต่างๆ ของ OSI 7 เลเยอร์

1. ระดับกายภาพ (Physical Layer)

เป็นระดับต่ำสุดจะมองในแง่ของสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งข้อมูลระหว่างกันรวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อจริงๆ อุปกรณ์ระดับนี้ เช่น สายUTP, ฮับ (Hub), รีพีตเตอร์ (Repeater)

2. ระดับเชื่อมข้อมูล (Data Link Layer)

เป็นระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame)เพื่อเชื่อมต่อกับระดับที่ 3 ระดับเชื่อมข้อมูลยังแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อยคือ Logical LinkControl (LLC) และ Media Access Control (MAC) อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่นบริดจ์ (Bridge), สวิตช์ (Switch)

3. ระดับเครือข่าย (Network Layer) เป็นระดับที่มองข้อมูลที่แพ็กเกจ(Package)

โดยที่แพ็กเกจอาจจะใหญ่หรือเล็กจะเป็นข้อมูลที่ถูกซอยย่อยส่งไปในเครือข่ายซึ่งข้อมูลบางส่วนในแพ็กเกจใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทางที่แพ็กเกจนั้นเดินทางไปอุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น เร้าเตอร์ (Router), Switch Layer3

4. ระดับขนถ่าย (Transport Layer)

เป็นระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

5. ระดับเปิด-ปิด (Session Layer)

เป็นระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร

6. ระดับปรับข้อมูล (Presentation Layer)

เป็นระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆในเครือข่าย

7. ระดับประยุกต์ (Application Layer)

เป็นระดับที่จัดการเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน เช่น การเข้าถึงฐานข้อมูล หรือการรับ-ส่งอีเมล์